วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปลูกสักทอง

การปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก


วิเชียร  สุมันตกุล*

คำนำ


          การปลูกสร้างสวนป่าไม้สักในประเทศไทยได้เริ่มมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ตามประวัติที่
ปรากฏ  เมื่อปี พ..2449 พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์  ได้ทำการทดลองปลูกสวนสักโดยอาศัยชาวไร่  หรือที่เรียกว่า  Taungya  system  โดยวิธีหยอดเมล็ดลงหลุมตามแบบที่พม่าใช้ได้ผลมาแล้ว 
(มณที2527)  จากการทดลองครั้งแรกซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  จึงได้มีการขยายการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักเพิ่มขึ้นในระยะต่อมา
            การปลูกสร้างสวนป่าไม้สักที่ถือว่าเป็นการปลูกอย่างจริงจังนั้น  ได้เริ่มในปี พ.. 2453   ที่จังหวัดแพร่  โดยปลูกที่สวนสักแม่พวก  อำเภอเด่นชัย  เนื้อที่  66 ไร่  และที่สวนสักแม่จั๊วะ  อำเภอสูงเม่น  เนื้อที่ 197 ไร่  ซึ่งการปลูกทั้งสองแห่งยังใช้วิธีหยอดเมล็ดเช่นเดิม  อย่างไรก็ตามการปลูกป่าดังกล่าวยังไม่มีการจัดงบประมาณให้โดยตรง
            ต่อมารัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกสร้างสวนป่าเป็นอย่างมาก    จึงได้กำหนดเป็นนโยบายไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 (..2504 – 2509)  เป็นต้นมา  โดยมีงบประมาณสำหรับดำเนินการโดยตรง  ในแผนฉบับที่ 1 นี้  กำหนดให้ปลูกไม้สักปีละ 5,000 ไร่ ไม้กระยาเลยปีละ 8,000 ไร่  รวมพื้นที่สวนป่าที่กำหนดให้ปลูกปีละ 13,000 ไร่  นั้นคือตลอดระยะเวลา 6 ปี  ของแผนพัฒนาฯ  ฉบับที่ 1 นี้  รัฐจะต้องปลูกสวนป่าเป็นจำนวน 78,000 ไร่
            แผนพัฒนาฯ  ฉบับที่ 2 (..2510 – 2514)  กำหนดให้ปลูกไม้สักปีละ  15,000 ไร่ (ระหว่างปี 2510 – 2511)  และปีละ 20,000 ไร่  (ระหว่างปี 2512 – 2514)  ส่วนไม้กระยาเลยกำหนดให้ปลูกปีละ 10,000 ไร่  ดังนั้นในเวลา ปี ของแผนฯ 2  จะต้องปลูกสร้างสวนป่าให้ได้ทั้ง
สิ้น 140,000 ไร่

            แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3  (..2515 – 2519)  กำหนดไว้ว่า จะทำการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักในที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือในที่ที่มีสภาพป่าเสื่อมโทรม  มีเป้าหมายทำการปลูกป่าปีละ 20,000 ไร่  และทำการปลูกป่าไม้กระยาเลยในที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือป่าที่มีสภาพเสื่อมโทรมเช่นกัน  โดยทำการปลูกปีละ 10,000  ไร่  และปลูกป่าเพื่อปรับปรุงต้นน้ำ  92,500 ไร่  ดังนั้น  สวนป่าซึ่งกำหนดจะปลูกตลอดระยะเวลา ปี ของแผนฯ  ฉบับที่ นี้จึงมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 242,500 ไร่ โดยแยกเป็นป่าเศรษฐกิจ  150,000 ไร่  และป่าเพื่อป้องกันภัย 92,500 ไร่
            แผนพัฒนาฯ  ฉบับที่ 4 (.. 2520 – 2524)  กำหนดให้ปลูกสร้างสวนป่าปีละ  500,000 ไร่  รวมระยะเวลา  5  ปี  เป็นเนื้อที่  2,500,000  ไร่  โดยมิได้กำหนดแยกประเภทว่าเป็นป่าชนิดใดบ้าง
            แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 (..2525 – 2529)  กำหนดให้ดำเนินการปลูกป่าเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นปีละ 300,000  ไร่  โดยเน้นให้เอกชนเป็นผู้ปลูกและรัฐเป็นผู้ควบคุมดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการในบริเวณป่าเสื่อมโทรม  รวมตลอดถึงการปรับปรุงและปลูกป่าชายเลนในบริเวณที่มีศักยภาพต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล  ส่งเสริมให้มีการปลูกไม้โตเร็วเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำไม้ฟืน  รวมทั้งการช่วยป้องกันการพังทะลายของดิน  ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
            แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (.. 2530 – 2534)  กำหนดให้แบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
            1. ป่าเพื่อการอนุรักษ์  ได้แก่  อุทยานแห่งชาติ  วนอุทยาน  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและป่าต้นน้ำชั้น 1
            2.  ป่าเพื่อเศรษฐกิจ  ได้แก่  พื้นที่ป่าไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้  กำหนดให้มี 25%  ของพื้นที่ประเทศ โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินการ : -
2.1    ปลูกป่าไม้โตเร็ว  และสวนผลไม้
2.2    ปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ  สนับสนุนให้มีการปลูกไม้สักทั้งภาครัฐและเอกชน
2.3    การปลูกป่าชุมชน  ให้องค์กรประชาชนท้องถิ่นร่วมมือกันปลูกป่าโดยเน้นพันธุ์ไม้เอนกประสงค์
แผนพัฒนาฯ  ฉบับที่ 7 (..2535 – 2539)  ในแผนนี้ไม่ได้กำหนดพื้นที่ปลูกป่าไว้แน่นอน 
แต่กำหนดให้มีพื้นที่อนุรักษ์  25%   ของพื้นที่ประเทศ  และได้กำหนดเป็นแผนพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ไว้ดังนี้
            1.  สนับสนุน  ส่งเสริม  และขยายบทบาทประชาชน  องค์กรประชาชนในการเข้ามาดูแล  รักษา  อนุรักษ์  และใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน
            2.  การพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน  ให้จัดทำแผนปฏิบัติการ  การจัดการและใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
            3.  การประสานนโยบายอนุรักษ์ป่าไม้  กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้มีความสมดุลย์  โดยเฉพาะการสร้างถนน  เขื่อน  และอ่างเก็บน้ำ  ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์ป่า
            แผนพัฒนาฯ  ฉบับที่ 8  (.. 2540 – 2544)  แผนนี้มีวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดข้อหนึ่ง คือ “เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์  สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ  สังคม และคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งมีเป้าหมายของแผนคือ  อนุรักษ์และฟื้นฟู  บูรณะพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ไว้ให้ได้ไม่น้อยกว่า 25%  ของพื้นที่ประเทศ  รวมทั้งรักษาป่าชายเลนให้คงไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่  ในปีสุดท้ายของแผน 8”
            แผนนี้หลักใหญ่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน  และชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กำหนดให้มี : -
            1. การรณรงค์  เผยแพร่  ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนและองค์กรชุมชน   ให้ตระหนักถึงผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            2. การเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน  ตัดสินใจ  และติดตามประเมินผลในโครงการของรัฐ  ที่จะมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.      การออกพระราชบัญญัติป่าชุมชนซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย
4.      การส่งเสริมองค์กรชุมชนและท้องถิ่น  ในการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
            แม้จะไม่มีการกำหนดพื้นที่การปลูกป่าไว้อย่างแน่นอน  แต่ก็มีกิจกรรมที่มุ่งฟื้นฟู  บูรณะพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์และให้มีการปลูกป่าชุมชนและเอกชนไว้ด้วย
            จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  รัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของการปลูกสร้างสวนป่ามาตลอดและพยายามกำหนดให้มีการปลูกสร้างสวนป่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้นยังแจกแจงการปลูกป่าออกไปตามวัตถุประสงค์  เช่น เพื่อเศรษฐกิจและเพื่อการป้องกัน รวมถึงการส่งเสริมให้เอกชนปลูกสร้างสวนป่าด้วย  และจะเห็นว่าไม้สักได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่ามาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1  เอกสารฉบับนี้จะกล่าวถึงการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักโดยเฉพาะ
           

ลักษณะทั่วไปของไม้สัก

            ไม้สัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Tectona  grandis  ชื่อสามัญภาษาอังกฤษคือ  Teak  อยู่ในวงศ์  (Family)  Verbenaceae  พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติใน  4   ประเทศแถบเอเซียเท่านั้น คือ ไทย สหภาพพม่า  อินเดีย  และบางส่วนของ สปป.ลาว  สำหรับในประเทศไทยจะพบกระจายอยู่ทั่วไปทางภาคเหนือ  ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14– 20o 31’  เหนือ  และระหว่างเส้นแวงที่ 97 o 30’ – 104 o 30’  ตะวันออก  (Mahaphol, 1954)  หรือรวมพื้นที่ป่าที่มีไม้สักขึ้นอยู่ตามธรรมชาติประมาณ 30,000  ตารางกิโลเมตร  (อภิชาติและคณะ, 2536)
            ไม้สักโดยทั่วไปมีลำต้นเปลาตรง  ความสูงเมื่อโตเต็มที่ตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป  ปราศจากกิ่งก้านจนใกล้จะถึงเรือนยอด  เนื้อไม้สวย  ตบแต่งง่าย  ลักษณะของเนื้อไม้แบ่งไม้สักออกเป็น ชนิด คือ สักทอง  สักหิน (สักไข)  สักหยวก  สักขี้ควาย  และสักลายดำ  อย่างไรก็ตามการดูจาก
ลักษณะภายนอกหรือดูจากลักษณะทางสัณฐาน  (morphology)  ในขณะที่ไม้ยังยืนต้นอยู่จะไม่สามารถบอกถึงความแตกต่างของเนื้อไม้ได้  ต้องตัดดูเนื้อไม้จึงจะทราบว่าเป็นสักชนิดใด  สักเป็นไม้ผลัดใบ  ใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง  น้ำตาลและแดงในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  และในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม  ใบสักจะร่วงหมดต้น  ดูคล้ายต้นสักตายแห้ง  เมื่อเริ่มมีฝนในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม  จะแตกใบอ่อนใหม่  ใบอ่อนที่แตกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  และโตเต็มที่ในราว ๆ เดือนกรกฎาคม  ต่อจากนั้นสักจะเริ่มออกดอก  โดยช่อดอกจะเริ่มแทงออกมา  ดอกสักเล็ก ๆ จะเริ่มทยอยบานไปเรื่อย ๆ ใช้เวลาประมาณ 3 – 4 สัปดาห์  ช่วงเวลาที่ดอกสักบานคือ  เดือนกันยายน  ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกเล็ก ๆ สีขาวอยู่ระหว่าง 100 – 3,000 ดอก  ดอกสักมีช่วงเวลาผสมเกสรสั้น คือระหว่าง 11:00 – 15:00 .เท่านั้น  หากดอกไม่ได้รับการผสมเกสรก็จะหลุดร่วงไปภายในวันเดียว  ตัวการผสมเกสรคือ  ผึ้ง ผีเสื้อ  และชันโรง  หากดอกมีการผสมเกสร ผลสักก็จะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ   ใช้เวลาประมาณ50 วัน  ผลสักก็จะเจริญเติบโตเต็มที่  ซึ่งก็ตกในราวเดือนมกราคม  ผลจะแก่จัดในราวกุมภาพันธ์  ถึงมีนาคม  ผลแก่จัดหรือแห้งจะมีสีน้ำตาล  และร่วงหล่นลงตามธรรมชาติเมื่อมีพายุฝน ในราวกลางเดือนเมษายน  สามารถเก็บไปขยายพันธุ์ได้ต่อไป  (Bryndum and Hedegart, 1969 ; อภิชาติ, 2534)
            การเจริญเติบโตของไม้สักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายชนิด  ที่สำคัญได้แก่  ดิน  น้ำ  อุณหภูมิ  และแสงสว่าง
            ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตได้แก่  ดินตะกอนที่ทับถมมีผิวหน้าดินลึกและมีการระบายน้ำดี  (Kulkani, 1951 ; Puri, 1951 ; 1960 ; Seth and Yadav, 1959).  มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)  อยู่ระหว่าง  6.5 – 7.5  (Kulkani, 1951)  และมีปริมาณธาตุแคลเซี่ยม (Ca)  และฟอสฟอรัส (P)  อยู่ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างจะสูง  เมื่อเปรียบเทียมกับแร่ธาตุชนิดอื่น  (Bhatia, 1954 ; Puri, 1960)
            น้ำหรือความชุ่มชื้นในดิน  เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของไม้สัก  ไม้สักขึ้นได้ดีในท้องที่ที่มีฝนตกประมาณ  1,250 – 1,650  มม./ปี (Kermode, 1964)  นอกจากนั้น Kermode (1964)  ยังพบว่าคุณภาพของไม้สักจะด้อยลง  ถ้าหากว่าไม้สักขึ้นอยู่ในท้องที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าหรือมากกว่าช่วง 1,250 – 1,650 มม./ปี  จากการศึกษาของ Kaosa-ard  (1977)  ในห้องควบคุมสภาวะแวดล้อม  (phytotron)  พบว่าในขณะที่สภาวะแวดล้อมอื่น เช่น อุณหภูมิ  และแสงเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต  ความชื้นในดินจะเป็นตัวการที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของกล้าสัก  กล้าสักที่ปลูกในที่ที่มีความชุ่มชื้นในดินสูง  (19%)  จะมีความสูงเป็นสองเท่า  และจะมีปริมาณน้ำหนักแห้งเป็น  5  เท่าของกล้าสักที่ปลูกในดินที่มีความชื้นต่ำ  (6%)  ในช่วงระยะเวลาเพียง 2 เดือนหลังจากการศึกษา
            อุณหภูมิเป็นปัจจัยที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของไม้สักอีกอย่างหนึ่ง  จากการศึกษาภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อม  Koko Gyi (1972)  พบว่ากล้าสักเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 27/22  - 36/31  องศาเซลเซียส (day/night temperature)  ที่อุณหภูมิสูงกว่าหรือต่ำกว่าช่วงดังกล่าวการเจริญเติบโตของกล้าสักจะลดลง  เช่นเดียวกับ  Kanchanaburangura (1976)  และ  Kaosa-ard  (1977)  พบว่ากล้าสักเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ  30/25 องศาเซลเซียส  แต่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 o เซลเซียส  กล้าสักจะมีลักษณะแคระแกรน  ใบหนา มีสีค่อนข้างจะเหลือง  และส่วนของตายอด  (terminal bud)  จะหยุดการเจริญเติบโต
            แสงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของไม้สักไม่น้อยไปกว่า ดิน น้ำ และอุณหภูมิ  ไม้สักจัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการแสดงมากชนิดหนึ่ง  (light demanding species)  (Nwoboshi, 1972 ; Koko Gyi, 1972 ; Kanchanaburangura, 1976)  จากการศึกษาของ  Nwoboshi (1972)  เกี่ยวกับอิทธิพลของความเข้มข้นของแสง  (light intensity)  พบว่าการเจริญเติบโตของกล้าสัก (เทียบจากปริมาณน้ำหนักแห้งทั้งต้น)  จะดีที่สุดเมื่อปลูกในที่ที่มีความเข้มข้นของแสงประมาณ75%   (ของ full daylight)  และจะโตช้าที่สุด  เมื่อปลูกในที่ที่มีความเข้มข้นของแสงประมาณ 25%  สำหรับด้านความสูงกล้าสักปลูกที่แสง 100%  จะสูงที่สุดและกล้าสักปลูกที่แสง 25%  จะเตี้ยที่สุด  สำหรับความยาวนานของวัน(daylength)  ต่อการเจริญเติบโตของกล้าสัก Koko Gyi (1972) และ  Kanchanaburangura (1976)  พบว่าความยาวนานของแสง  (daylength)  ในช่วง 8, 12 และ 16  ชั่วโมง  มีผลต่อความแตกต่างด้านการเจริญเติบโตของกล้าสักน้อยมาก
            ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไม้สักเหล่านี้  นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเกี่ยวกับไม้สัก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก  เพราะความรู้เหล่านี้สามารถที่จะนำไปใช้หรือดัดแปลงให้เข้ากับสภาวะการในขั้นตอนของการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักในทุกขั้นตอน  ซึ่งจะได้กล่าวถึงในลำดับต่อ ๆ ไป

การจัดหาเมล็ดไม้สัก

            การปลูกสร้างสวนป่าไม้สักเป็นการลงทุนระยะยาว  และต้องใช้ทุนค่อนข้างสูง  เพื่อให้การลงทุนได้ผลตอบแทนในทางเศรษฐกิจคุ้มค่า  ดังนั้นจึงต้องมีการเริ่มต้นที่ดี  ถูกต้องและรอบคอบ  คือ  เริ่มต้นจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดีสำหรับการปลูกสร้างสวนป่า  เพราะตามความเป็นจริงแล้ว  เงินที่ใช้ลงทุนสำหรับจัดหาเมล็ดพันธุ์ดีเป็นเพียงส่วนน้อยของเงินลงทุนทั้งหมดเท่านั้น  การใช้เมล็ดที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ผลผลิตที่ได้ในบั้นปลายไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง  ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
            แหล่งเมล็ดสักพันธุ์ดีสำหรับประเทศไทย  พอจะแบ่งได้ดังนี้
1.      แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์  (seed production area)  เป็นพื้นที่ที่ได้มีการดำเนินการทาง
วิชาการ  เพื่อการผลิตเมล็ดไปบ้างแล้ว  เช่น มีการตัดสางขยายระยะเพื่อตัดไม้ลักษณะทรามออก  เปิดเรือนยอดให้กว้างเพื่อให้ได้รับแสงทุกมุม  เพื่อกระตุ้นการผลิตเมล็ด  มีการตัดถางไม้พื้นล่างออก  เพื่อให้สะดวกต่อการเก็บเมล็ดจากพื้นดิน เป็นต้น  แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักดังกล่าวนี้  ได้มาจาก  2  แหล่งคือ
                        1.1  แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์จากป่าธรรมชาติ  การจะใช้แหล่งผลิตชนิดนี้ต้องมั่นใจจริง ๆ ว่าป่าธรรมชาติที่จะใช้เป็นแหล่งผลิตเมล็ดนั้น  ยังมีไม้สักพันธุ์ดีเหลืออยู่ในปริมาณที่มากพอที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์ดีให้  ทั้งนี้เนื่องจากในป่าธรรมชาติมักจะมีการตัดไม้ลักษณะดีออกไปทำประโยชน์เสียเป็นส่วนใหญ่แล้ว  หากคัดเลือกเป็นแหล่งผลิตเมล็ดอาจต้องเข้าไปดำเนินการปรับปรุงมากหน่อย  หรือเลือกเก็บเมล็ดจากแม่ไม้ที่มีลักษณะดีจริง ๆ เท่านั้น
                        1.2  แหล่งผลิตเมล็ดจากสวนป่า  โดยมากมักจะใช้สวนป่าที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป  และเริ่มออกดอก ออกผล  เพราะต้นสักเมื่อออกดอกแล้วมักแตกง่าม  (folking)  ที่ปลายยอดทำให้การเจริญเติบโตช้า  เพราะมียอดนำ 2ยอด  การออกดอกช้าจะทำให้การเจริญเติบโตทางด้านความสูงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  แหล่งผลิตเมล็ดจากสวนป่านี้จะต้องมีการตัดสางเอาไม้ลักษณะทรามออกไปพอสมควร  และตัดถางไม้พื้นล่างเพื่อเตรียมการเก็บเมล็ดเมื่อเมล็ดร่วงหล่นลงสู่พื้น  คุณภาพทางพันธุ์ของเมล็ดจากแหล่งนี้ถือว่าอยู่ในขั้นดีพอสมควร
2.      สวนผลิตเมล็ดพันธุ์  (seed orchard)  สวนผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นแหล่งเมล็ดที่เชื่อถือได้ 
เพราะปลูกสร้างขึ้นจากไม้สักพันธุ์ดี  (แม่ไม้)  เท่านั้น  ซึ่งอาจจะเป็น  clonal seed orchard หรือ seedling seed  Orchard  ก็ได้  มีการจัดการทางวิชาการทุกขั้นตอน  จึงเรียกว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ดี

การเก็บเมล็ดสัก

            เมล็ดสักจะเริ่มแก่ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปจนถึงปลายเดือนเมษายน  ทั้งนี้เพราะดอกสักช่อหนึ่ง ๆ จะให้ดอกตั้งแต่ 100- 3,000 ดอก  และจะเริ่มบานติดต่อกันไปเป็นระยะเวลาประมาณ  3  เดือน  ความแก่อ่อนของเมล็ดสักดูจะมีปัญหาน้อยมาก  เพราะขณะเมล็ดเริ่มแก่จัดจะยังคงติดอยู่กับช่อดอกบนต้น  ต่อเมื่อมีลมแรงมาในระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน  จึงจะเริ่มตกลงดิน  และเก็บเมล็ดจากพื้นดินเพื่อนำไปใช้เพาะต่อไป
            ตามปกติเมล็ดสักเมื่อหล่นจากต้นจะมีเยื่อ  (calyx)  หุ้มอยู่  เมื่อเก็บมาแล้วควรจะนำมาแยกเอาเยื่อหุ้มนั้นออก  โดยการตากแห้ง  เยื่อจะกรอบ  สามารถเหยียบหรือทุบเบา ๆ แล้วใช้เครื่องฝัดแยกเอาเยื่อออก  เมล็ดนั้นจะถือว่าเป็นเมล็ดที่มีความบริสุทธิ์ดีพอ
            เมล็ดสักที่มีขนาดใหญ่มักจะงอกได้ดีและให้กล้าไม้ที่แข็งแรงกว่าเมล็ดเล็ก  ในวงการการเพาะชำไม้สัก  แบ่งขนาดเมล็ดสักออกเป็น  3  ขนาดคือ
            1.  เมล็ดขนาดใหญ่  เป็นเมล็ดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยโตกว่า 1.3 ซม.  ในที่นี้ทราบว่า  น้ำหนัก 1 กกของเมล็ดแห้ง  (well dried)  จะมีจำนวนเมล็ดประมาณ 1,500 เมล็ด  น้ำหนักต่อ 1 ถัง  (20 ลิตร)  ประมาณ 5.8 กก. จำนวนเมล็ดต่อถังประมาณ 8,100 เมล็ด
            2.  เมล็ดขนาดกลาง  เป็นเมล็ดที่มีขนาดเฉลี่ย  1.0 – 1.2  ซม.  น้ำหนัก กก.  ของเมล็ดแห้งมีจำนวนเมล็ดประมาณ 2,100 เมล็ด  น้ำหนักต่อ ถัง (20 ลิตร)  ประมาณ 6.4 กก.  จำนวนเมล็ดต่อ ถัง ประมาณ 12,900  เมล็ด
            3.  เมล็ดขนาดเล็ก  เป็นเมล็ดที่มีขนาดความโตเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยระหว่าง 0.8 – 0.9 ซม.  เมล็ดขนาดนี้ที่น้ำหนักแห้ง กกจะมีเมล็ดประมาณ 3,700 เมล็ด  น้ำหนักต่อ ถัง ประมาณ  6.9 กก.  จำนวนเมล็ดต่อ ถัง ประมาณ22,700 เมล็ด
            การแยกขนาดเมล็ดทำได้โดยใช้ตะแกรงร่อน  (wire-mesh)  ที่มีขนาดความโตดังที่ได้จำแนกไว้
            ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการเพาะชำไม้สักจะต้องระลึกอยู่เสมอว่าเมล็ดสักต่างขนาดจะให้เปอร์เซ็นการงอกที่แตกต่างกัน  เนื่องจากมี  viability  ที่แตกต่างกัน  ซึ่งยืนยันโดย  วิเชียร  (2522และ Kaosa – ard  (1981)  ที่ได้ทำการคัดแยกเมล็ดสักจากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้สักแม่หวด 
.งาว  .ลำปาง  ออกเป็น  4  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง คือ 0.9 – 1.0,  1.0 – 1.1, 1.1 – 1.2  และโตกว่า 1.2 ซม.  แล้วผ่าตรวจสอบหา  viability พบว่า  viability  ของเมล็ดสักขนาดดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 41, 53, 62  และ 71%  ตามลำดับ กล่าวโดยสรุปคือ  เมล็ดที่มีขนาดโตจะมีค่าของ viability  สูงกว่าเมล็ดที่มีขนาดเล็ก  แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างขนาดความโตของเมล็ดกับ viability  ดังกล่าว  ยังพบโดย  Murthy  (1973)  Hedegart (1974)  และ  Suangtho (1980)  เช่นเดียวกัน

การเก็บรักษาเมล็ดสัก

          เมล็ดที่ดีที่สุดสำหรับการเพาะชำคือ  เมล็ดที่เก็บได้ในปีนั้น ๆ แต่มีหลายกรณีที่อาจต้องมีการเก็บรักษาเมล็ดสักข้ามปี  เพราะต้นสักมักจะให้เมล็ดดกปีเว้นปี  ดังนั้นจึงต้องเก็บเมล็ดไว้ให้มากที่สุดในปีที่ต้นสักให้ผลดก  นอกจากนั้นฤดูกาลจัดหาเมล็ดกับฤดูกาลหว่านเพาะเมล็ดสักจะใกล้เคียงกันมาก  อาจมีการล่าช้าไม่ทันเวลา  การกักตุนหรือเก็บรักษาเมล็ดไว้ข้ามปีจะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามตารางเวลา  และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            การเก็บรักษาเมล็ดสัก  (storage)  ควรจะเก็บเมล็ดที่มีสิ่งเจือปน  (impurities)  เช่น เยื่อหุ้มผล  (calyx)  และสิ่งอื่น ๆ ปนอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย  เมล็ดจะต้องมีความสมบูรณ์สูง  คือไม่มีร่องรอยการเจาะทำลายของแมลง  (insect holes)  ปราศจากเชื้อโรค  (diseases, organism or pests)  และรอยแผล  (injuries)  ใด ๆ นอกจากนั้นควรจะเป็นเมล็ดที่ตากแห้งดีแล้ว  (well – dried) เพราะถ้าเก็บเมล็ดทั้งที่ยังเปียกอยู่จะทำให้เกิดราง่าย และสูญเสียอัตราการงอกเร็ว ความชื้นในเมล็ดควรมีอยู่น้อย  ในเมล็ดสักยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าความชื้นในเมล็ดควรมีเท่าใด  จึงจะเหมาะสมสำหรับการเก็บรักษา  แต่พอสรุปได้ว่าควรเก็บรักษาเมล็ดที่ตากแห้งจนน้ำหนักแห้ง  (sun – dried)  คงที่แล้ว เพราะตามปกติความชื้นในเมล็ดจะสมดุลย์กับความชื้นในอากาศของฤดูกาลที่ตากเมล็ดนั้น
            เมล็ดสักที่เก็บเพื่อใช้ในปีนั้น    เมื่อตากแห้งและทำความสะอาดแล้วก็ทำการบรรจุกระสอบป่านหรือถุงฟาง  เก็บไว้ในอาคารที่ร่ม  มีการระบายอากาศดี  และปลอดภัยจากหนู  สัตว์กัดแทะอื่น ๆ ตลอดจนแมลงต่าง ๆ ก่อนการนำไปเพาะต่อไป
            สำหรับการเก็บรักษาเมล็ดสักเป็นเวลานาน  (long – term seed storage)  จากการศึกษาของวิเชียร  (2520)  ที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้สัก อ.งาว  .ลำปาง  (ทดลองเก็บรักษาในจำนวนที่ไม่มากนัก)  โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 o , 0 o , -4 o.  และที่อุณหภูมิห้อง  ภายใต้สภาวะความชื้นต่างกัน  (ในร่มที่แห้งและในหลุมที่ชื้น)  และในภาชนะต่าง ๆ กัน (ในถุงพลาสติกในถุงผ้า,  ในขวดโหล)  พบว่า
            1.  เมล็ดสักเก็บในขวดโหลหรือถุงพลาสติกที่ปิดอย่างแน่นหนา  (air – tight)  สามารถเก็บไว้ภายในห้องธรรมดาได้นาน 2 – 5 ปี
            2.  เมล็ดสักเก็บไว้ในถุงพลาสติกในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 4 o , 0 o  และ -4 o .  สามารถเก็บได้นาน  3 – 5 ปี
            3.  เมล็ดสักเก็บไว้ในถุงผ้าในห้องเย็นที่อุณหภูมิ  4 o , 0 o  และ -4 o .  เก็บได้นาน 2 – 5 ปี
            4.  เมล็ดสักเก็บในถุงผ้าในห้องธรรมดา  เพียง  ปี  จะสูญเสียความสามารถในการงอกหมด
            5.  เมล็ดสักเก็บไว้ในสภาพค่อนข้างชื้น  (ในหลุม)  เพียง 1 ปี  ก็จะสูญเสียความสามารถในการงอกหมด
            เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไม้สักมีอยู่อย่างจำกัด  ดังนั้นในทางปฏิบัติ  สำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้เป็นเวลา  1 – 3 ปี  โดยเมล็ดไม่เสื่อมคุณภาพ หรือเสื่อมน้อยมาก  ควรปฏิบัติดังนี้
            1.  เมล็ดที่เก็บควรเป็นเมล็ดที่แห้งสนิท  โดยผ่านการผึ่งแดดหลังทำความสะอาดแล้วเป็นเวลา 2 – 3 วัน
            2.  ทำการตรวจสอบหา  viability  ของเมล็ดจากแต่ละแหล่งโดยวิธีตัดตรวจนับ  embryo  ที่สมบูรณ์  (cutting test)
            3.  บรรจุเมล็ดในกระสอบ  (ในกรณีจะเก็บรักษาเพียง 1 ปี)  หรือบรรจุในถุงฟาง  หรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่  แล้วบรรจุในกระสอบอีกครั้ง  (ในกรณีเก็บรักษาไว้เกิน 1 ปีขึ้นไป)
            4.  ทำการติดป้ายแหล่งที่มาของเมล็ด  วัน – เดือน – ปี  ที่เก็บเมล็ดตลอดจนชั่งน้ำหนักเมล็ดแต่ละถุงหรือกระสอบ  เพื่อใช้ประโยชน์ในการประเมินหาจำนวนเมล็ดที่มีอยู่
            5.  เก็บเมล็ดไว้ในอาคาร  หรือโรงเรือนที่กันแดดกันฝนได้ดี  รวมทั้งสามารถป้องกันสัตว์จำพวกหนู  และแมลงที่จะทำลายเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย
            6.  อาจต้องพ่นยากำจัดสัตว์และแมลง  เช่น มอดและปลวก  ในขณะเก็บรักษาเป็นครั้งคราว
            7.  เมื่อครบปี  ทำการสุ่มตัวอย่างเมล็ดจากแต่ละแหล่งมาทำการตรวจหา  viability  ว่าลดลงมาน้อยเพียงใด  หากจำเป็น  (กรณี  viability  ลดลงมาก)  ก็ควรใช้เมล็ดให้หมดไปโดยเร็ว

การเตรียมแปลงเพาะ 

            การจัดหาและการเตรียมพื้นที่แปลงเพาะนับว่ามีความสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก  แปลงเพาะถาวรที่มีการผลิตกล้าไม้เป็นปริมาณมาก  ควรจะมีพื้นที่กว้างขวาง  และมีอุปกรณ์เฉพาะอย่างเพียงพอ  โดยเฉพาะเครื่องจักรกลต่าง ๆ  หรืออาจจะเป็นในรูปกึ่งแรงงานกึ่งเครื่องจักร  (semi-mechanisation)  ก็ได้  แต่หากเป็นศูนย์เพาะชำขนาดใหญ่จริง ๆ  ควรจะเป็นในรูปแบบของการใช้เครี่องจักรกลอย่างสมบูรณ์แบบ  (full – mechanisation)  ทั้งนี้เพราะ
            1)  ระยะเวลาในการเตรียมแปลงเพาะมีอยู่อย่างจำกัด  ส่วนมากมักเตรียมกันระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน  เนื่องจากเมล็ดสักควรหว่านให้เสร็จสิ้นก่อนที่ฝนแรกของฤดูมรสุมจะมาถึง  ซึ่งเป็นระหว่างปลายเดือนเมษายน -พฤษภาคม
            2)  แปลงเพาะมาตรฐานจะมีความกว้างอยู่ระหว่าง 1.0 – 1.20 ส่วนความยาวไม่จำกัด  ซึ่งสามารถใช้รถแทรกเตอร์ล้อยางพ่วงเครื่องมือยกแปลงเพาะช่วยยกแปลงเพาะแทนคนได้
            3)  การใช้เครื่องมืออื่น ๆ ต่อเนื่องจากการยกแปลงเพาะก็สามารถทำได้  เช่น เครื่องมือทำแนวและหยอดเมล็ด  (drill – sowing machine)  และเครื่องมือขุดกล้าสัก  (lifting machine)  เพื่อต้องการนำกล้าสักไปปลูกหรือไปเก็บรักษาไว้ก่อนฤดูกาลปลูก
            การพิจารณาเลือกพื้นที่ตั้งแปลงเพาะนั้น  สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ  แหล่งน้ำ  ถนน  แรงงาน  ความสะดวกในการขนส่ง  ไฟฟ้า  แหล่งเก็บเมล็ด  รวมทั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำรงชีพของพนักงานเจ้าหน้าที่พอสมควร
            แหล่งน้ำที่แน่นอนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะจะต้องใช้น้ำเกือบตลอดฤดูกาล  แหล่งน้ำควรจะมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จะให้น้ำได้เท่ากับน้ำฝน  4 – 8 นิ้วต่อเดือน  คุณภาพน้ำก็เป็นสิ่งจำเป็น  พบว่าถ้าน้ำมีแคลเซียม  (Ca)  500 ส่วนในล้านส่วน  (ppm)  มักจะเพิ่ม  pH  ของดินให้สูงขึ้น  เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเน่าคอดิน  (damping – off)  และโรครากเน่า  น้ำที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต  (CaCO3) 100 ส่วนในล้านส่วน  ก็จะมีผลเช่นเดียวกัน  น้ำที่มีตะกอนปนอยู่มาก  หรือน้ำที่ขุ่นมักจะอุดรูตามผิวดิน  ทำให้การระบายอากาศไม่มี  และอาจทำให้กล้าไม้เป็นโรคได้ง่าย  น้ำที่มีดินตะกอนหรือสาหร่ายปนอยู่อาจทำให้หัวฉีดของ  sprinkler  อุดตันได้  ฉะนั้นการรู้ถึงคุณภาพของน้ำเสียก่อนจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับแปลงเพาะได้
            ลักษณะของพื้นที่ที่จะใช้ทำแปลงเพาะ  ไม่ควรมีการไหลบ่าของน้ำหน้าดินหรือการพังทะลายของดินได้ง่าย  ความลาดชันของพื้นที่ไม่ควรเกิน 2%  หรือ 3%  และราบเรียบอย่างสม่ำเสมอไม่ทำให้น้ำขังอยู่ได้หลังฝนตก
            ดินควรจะมีเนื้อดินสม่ำเสมอ  ดินแปลงเพาะที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นดินร่วนปนทรายละเอียดถึงหยาบ  (fine to coarse sandy loam)  ลึกลงไป 45 ซม.  หรือกว่านั้น  อาจมีชั้นดินแข็งที่ยังมีการซับน้ำได้ดีอยู่ก็ใช้ได้  แต่ถ้าชั้นดินแข็งอยู่ลึกไม่ถึง  35  ซม.  ก็ไม่เหมาะสม
            ดินที่มีอณูดินเส้นผ่าศูนย์กลาง  0.05  มม.  ระหว่าง  15 – 25%  โดยน้ำหนักถือว่าเหมาะสม  เม็ดดินขนาดนี้มักจะยังแขวนลอยอยู่ภายหลังเขย่าดินกับน้ำประมาณ 60 ครั้ง  แล้วตั้งทิ้งไว้ 60 วินาที  เม็ดดินขนาดใหญ่กว่านี้จะตกตะกอนลงไปก่อน  pH  ของดินแปลงเพาะเมล็ดไม้สักควรอยู่ที่ระดับ 7  และเป็น  alluvial  soil  ลึกไม่น้อยกว่า 30 ซม.  เกี่ยวกับดินนี้มีข้อควรคำนึงอยู่บ้างคือ  ดินเนื้อหยาบ  การระบายน้ำจะดี  และการปฏิบัติต่อดินก็ง่ายกว่าดินเนื้อละเอียด การพัฒนาของระบบรากพืชก็ดีกว่า  ส่วนดินที่เนื้อหยาบมากเกินไป  เนื้อดินเกาะกันหลวมมาก  มีอินทรีย์วัตถุน้อย  และความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ  ก็ไม่เหมาะสมจะใช้ทำแปลงเพาะ           
            เมื่อเลือกพื้นที่แปลงเพาะที่เหมาะสมได้แล้ว  ก็ถึงเรื่องของการเตรียมพื้นที่แปลงเพาะ  ในพื้นที่ที่เปิดใหม่  ก็จะต้องเริ่มต้นด้วยการตัดถางไม้ออก  แล้วสุมเผา  เก็บริบ  ทำความสะอาดพื้นที่  ในพื้นที่บางแห่งอาจต้องทำการกำจัดวัชพืชด้วยยาฆ่าหญ้า  (weedicides)  แล้วจึงเผา  จากนั้นก็ทำการไถดะเพื่อพลิกดิน  ตากดินไว้ระยะหนึ่ง  แล้วทำการไถแปร  หรือไถพรวน  เพื่อทำให้ดินร่วนซุย  แล้วคราดให้ดินสม่ำเสมอกัน  ดินแปลงเพาะแห่งใดที่มีดินค่อนข้างเหนียวมาก  จะต้องใช้ทรายผสมขี้เลื่อยหรือปุ๋ยคอกผสมแกลบหรือเปลือกถั่วผสมคลุกเคล้าลงไปให้ทั่วพื้นที่ด้วย  เพื่อเพิ่มความพรุนของดิน  ทำให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น  นอกจากนั้นหากดินมี  pH  ต่ำ  อาจต้องใส่ปูนขาวหรือขี้เถ้าแกลบลงไป  เพื่อลดความเป็นกรดของดินลง  เมื่อเตรียมดินดีแล้วก็ทำการยกร่อง โดยแรงคน  (สำหรับแปลงเพาะชำขนาดเล็ก)  หรือโดยใช้รถแทรกเตอร์  (สำหรับแปลงเพาะชำขนาดใหญ่)  ความกว้างของแปลงขนาดมาตรฐานคือ  1.20 เมตร  ยกสูงจากพื้นปกติประมาณ 30 ซม.  อาจต้องใช้แรงคนช่วยตบขอบแปลงเพาะให้แน่นหรือกั้นด้วยแผ่นไม้ไผ่สับก็ได้
            ศูนย์เพาะชำขนาดใหญ่ควรแบ่งพื้นที่แปลงเพาะออกเป็น  3  ส่วน  สำหรับ  รอบการใช้งาน (rotations)  เพื่อเว้นระยะสำหรับการปรับปรุงดิน  แปลงที่ 1  เมื่อเพาะไปแล้วจะถอนเหง้าได้ในปีถัดไป  ดังนั้นปีที่ 2  จึงต้องใช้แปลงที่ 2 ส่วนแปลงที่ 1 จะทำการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มความโอชะของดินเป็นเวลา 1 ปี เป็นอย่างน้อย  ปีที่ 3 ก็ใช้แปลงที่ 3 ต่อไป
            การปรับปรุงดินก็เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชลงในดิน  อาจทำได้โดยการเพิ่มอินทรีย์วัตถุลงไป  ซึ่งอินทรีย์วัตถุนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของดินทีเดียว  เพราะนอกจากจะทำให้โครงสร้างทางฟิสิกส์ของดินดีขึ้นแล้วยังเพิ่มแร่ธาตุต่าง ๆ ที่พืชต้องการในดินด้วย  เช่น  ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โปแตสเซี่ยม  แมกนีเซียม ฯลฯ 
            แหล่งที่มาของอินทรีย์วัตถุในดินมาจาก  3  แหล่งใหญ่ คือ
1)      พืชคลุมดิน  (cover crops)  เป็นการปลูกพืชตระกูลถั่วลงไปเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ 
แล้วไถกลบเมื่อถึงฤดูกกาลเตรียมพื้นที่
            2)  อินทรีย์วัตถุสด  (fresh organic residues)  เป็นการนำเอาอินทรีย์วัตถุสด  เช่น  มูลสัตว์  มาใส่ลงในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ปลูกพืช  แล้วปล่อยให้ผุสลาย  (decompose)  ในพื้นที่แปลงเพาะ
            3)  ปุ๋ยหมัก  (composts)  นำอินทรีย์วัตถุมายังแปลงเพาะ  ทำให้เป็นปุ๋ยแล้วใส่ลงในดินแปลงเพาะ
           

การหว่านเมล็ด

            การหว่านเมล็ดควรคำนึงถึงหลักใหญ่ ๆ 2 ประการคือ
1.      ให้ได้กล้าอย่างสม่ำเสมอ  มีจำนวนพอเหมาะ  ไม่ถี่หรือห่างเกินไป
2.      ใช้เมล็ดอย่างประหยัด  โดยเฉพาะเมล็ดสักพันธุ์ดีจากสวนผลิตเมล็ดพันธุ์และแหล่ง
ผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งมีมูลค่าสูง  ควรจะมีการใช้เมล็ดอย่างคุ้มค่า
เมื่อยกแปลงเพาะเรียบร้อยแล้ว  อาจต้องทำการสับดินแต่งหน้าแปลงเพาะอีกครั้งโดยใช้
จอบเพื่อให้ดินแตกละเอียดมากขึ้น  มีขนาดเหมาะสมกับการเพาะเมล็ดสัก  จากนั้นก็ทำแนวร่องสำหรับการหว่านเมล็ด  สำหรับแปลงเพาะขนาดเล็กอาจทำโดยใช้คราดประมาณ  10  ซี่  แต่ละซี่ห่างกัน 10 ซม.  ทำการคราดเป็นแนวยาวตลอดจากหัวแปลงถึงท้ายแปลง  ส่วนแปลงเพาะขนาดใหญ่อาจพ่วงคราดท้ายรถแทรกเตอร์  ใช้ทำแนวร่องได้  ในขณะเดียวกันก็ใช้หว่านเมล็ดไปพร้อมกันด้วย
            เมล็ดสัก  ควรจะหว่านลงในแปลงเพาะในช่วงระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม  ในทางปฏิบัตความหนาแน่นในการหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะแตกต่างกันไปเล็กน้อย  ระหว่างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และกรมป่าไม้ คือ ที่ศูนย์เพาะชำขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ที่ อ.แม่เมาะ  .ลำปาง  หว่านเมล็ดลงตามร่องซึ่งห่างกัน 10 ซมในอัตรา 426  เมล็ด/ตารางเมตร  ส่วนศูนย์เพาะชำกล้าไม้ของกรมป่าไม้ ที่ อ.งาว  .ลำปาง  หว่านในความหนาแน่น 350 เมล็ด/ตารางเมตร
            อย่างไรก็ตามมีสูตรที่ใช้คำนวณหาเนื้อที่ที่ควรจะหว่านเมล็ดสัก 1 ถัง ดังนี้
(สูตรดัดแปลงของ  Hawley and Smith)

                        A                   C x G x L

                                                      S                                       

            เมื่อ                =          พื้นที่เป็นตารางเมตร
                                 =          จำนวนเมล็ดต่อ  1  ถัง
                        G                  พลังงอกมีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)
                        L          =          เปอร์เซ็นต์ (%) การรอดตาย
                        S                   จำนวนกล้าไม้ต่อตารางเมตรที่ต้องการ

            สมมุติว่า  ใช้เมล็ดสักขนาดกลาง  (1.0 – 1.2 ซม.)  1  ถัง  ซึ่งจะมีเมล็ด (C)  12,900 เมล็ด  มีพลังงอก (G)  30% (0.30)  เปอร์เซ็นต์การรอดตาย (L)  60%  (0.6)  จำนวนกล้าไม้ที่ต้องการต่อตารางเมตร  (S)  60  ต้น
            ดังนั้นจะหว่านเมล็ดได้    A                   12,900 x 0.30 x 0.60
                                                                                    60
                                                                                 38.7  ตร..
            หรือในทางตรงข้ามจะใช้เมล็ดประมาณ 333 เมล็ด  ต่อพื้นที่ 1 ตร..

            เมื่อหว่านหรือหยอดเมล็ดแล้วจะต้องมีการกลบเมล็ด  เหตุที่ต้องกลบเมล็ดเพราะ
ก.      เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและรักษาระดับความชื้นหน้าแปลงเพาะ
ข.      ป้องกันเมล็ดจากลมและฝนพัดพาหรือชะลงจากแปลงเพาะ
ค.      คลุมเมล็ดเพื่อกันสัตว์จำพวกกัดแทะ
ง.       เพิ่มปุ๋ยและอินทรีย์วัตถุแก่ดินและกล้าไม้
คุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาใช้กลบเมล็ดมีดังนี้
1)      จะต้องมีน้ำหนักเพียงพอ  ฝนชะและลมพัดไม่ปลิวออกจากแปลงได้ง่าย
2)      อมความชื้นและถ่ายเทอากาศได้ดี
3)      สลายตัวเป็นปุ๋ยกล้าไม้ได้ง่าย  โดยไม่ทำให้เกิดปฏิกริยาเคมีเป็นอันตรายต่อเมล็ดและกล้าไม้  ตลอดจนเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินมากเกินไป
4)      ไม่มีเมล็ดวัชพืชปนอยู่ด้วย
 วัสดุที่นิยมใช้ในการกลบเมล็ดโดยทั่วไป  มีดังนี้
1)      ขี้เลื่อยผสมทรายเล็กน้อย
2)      เปลือกไม้แห้งสับละเอียด  (bark chips)
3)      ผลไม้สนสับละเอียด  (cone chips)
4)      มูลสัตว์หรือปุ๋ยที่ปราศจากเมล็ดพืช

ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ลำปาง  (งาว)  ของกรมป่าไม้ใช้ขี้เลื่อยผสมทรายในการกลบเมล็ด 
ส่วนศูนย์เพาะชำกล้าไม้ของ  ออปที่แม่เมาะ  ลำปาง  ใช้ขี้เลื่อย  ทราย  และลิกไนท์ละเอียด  ในอัตราส่วน  1 : 1 : 1  กลบหนา 1 – 2 นิ้ว
           

การเตรียมหรือปฏิบัติต่อเมล็ดก่อนเพาะ

            ตามปกติแล้วก่อนการหว่านเมล็ดสัก จะต้องมีการเตรียมหรือปฏิบัติต่อเมล็ด  (pretreatment)  ทั้งนี้เพื่อให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นและสม่ำเสมอ  หากไม่มีการเตรียมเมล็ดที่ดีอาจต้องใช้เวลา  30 – 60 วันก่อนที่เมล็ดจะเริ่มงอก  เป็นเหตุให้ได้กล้าไม้ขนาดไม่เท่ากัน
            ได้มีงานทดลองการเตรียมเมล็ดสักในหลาย ๆ วิธี เช่น การเผาลอกเมล็ดสัก  (scorching)  การแช่น้ำ  (soaking)  การแช่น้ำสลับกับการผึ่งแดด  (alternate soaking and drying)  ปอกเปลือกเมล็ด  ขุดหลุมฝังเมล็ด  ตลอดจนใช้สารเคมีเร่ง  (วิเชียร, 2522)  ซึ่ง  Suangtho (1980)  รายงานว่ายังไม่มีวิธีใดที่ให้ผลต่อการงอกของเมล็ดสักอย่างเด่นชัด  และมักจะมีรายงานผลงานวิจัยที่แตกต่างและขัดแย้งกันอยู่เสมอ  ไม่สามารถนำมาสรุปใช้ปฏิบัติกับแปลงเพาะชำขนาดใหญ่ได้อย่างมั่นใจ
            อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของ  Suangtho  (1980)  เกี่ยวกับการเตรียมเมล็ดก่อนหว่าน  (seed pre-sowing treatments) ภายใต้การควบคุมสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ (controlled environment)  พบว่า
            1. เมล็ดสักที่ได้ผ่านการอบแห้งด้วยความร้อน  (heat treatment)  ที่อุณหภูมิ 50o เป็นเวลา 1 – 5 สัปดาห์  หรือที่อุณหภูมิ 80o .  เป็นเวลา 2 – 8 ชั่วโมง  (ไม่เกิน 1 วันจะให้เปอร์เซ็นต์การงอกและอัตราการงอกสูงกว่าเมล็ดที่ไม่ได้รับการอบแห้งอย่างเด่นชัด
            2.  สภาพของอุณหภูมิในที่เพาะชำ  (แปลงเพาะ)  ประมาณ 30 o .  หรือสูงกว่าเล็กน้อยจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดในการงอกของเมล็ดสัก
            3.  เมล็ดสักเก่าค้างปีจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกดีกว่าเมล็ดใหม่  และให้การงอกเช่นเดียวกับเมล็ดที่ได้ผ่านการอบแห้งด้วยความร้อน
            4.  การคัดแยกขนาดของเมล็ดสักก่อนหว่านจะทำให้กล้าไม้ที่ได้ในแต่ละกลุ่มของเมล็ดที่
แยกหว่านมีขนาดใกล้เคียงกันยิ่งขึ้น  ทำให้ลดการแก่งแย่งและเบียดบังกันเองลง  เป็นผลให้ได้กล้าไม้จำนวนมากยิ่งขึ้น
            การศึกษานี้มีส่วนสอดคล้องกับการปฏิบัติของศูนย์เพาะชำของ  ออป.  ที่แม่เมาะลำปาง  โดยศูนย์นี้จะหว่านเมล็ดสักโดยไม่มีการเตรียม  (treat)  ก่อนการหว่านแต่อย่างใด  โดยจะหว่านเมล็ดในราวเดือนเมษายน  แล้วกลบเมล็ดด้วยวัสดุกลบที่มีส่วนผสมของลิกไนท์  ซึ่งพบว่าเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและค่อนข้างสม่ำเสมอ  หลังจากฝนแรกตกลงมา  เมล็ดจะเริ่มงอกทันที  ปรากฎการณ์นี้พอจะอธิบายได้ตามผลการศึกษาของ  Suangtho (1980)  คือ  เมล็ดสักเมื่อหว่านแล้วกลบด้วยวัสดุกลบที่มีส่วนผสมของลิกไนท์ในเดือนเมษายน  ซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนจัด  ผงลิกไนท์ซึ่งมีสีดำจะดูดความร้อนและอบเมล็ดสักจนร้อนไปด้วย  เป็นการกระตุ้นให้ตื่นตัว  พร้อมที่จะงอก  เมื่อความชื้นและอุณหภูมิเหมาะสมจึงงอกได้ทันที
            ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติในที่นี้คือ  ก่อนหว่านเมล็ดลงแปลงเพาะในเดือนเมษายน  ควรกระตุ้นเมล็ดโดยการอบเพิ่มเติมที่อุณหภูมิประมาณ  30o เป็นเวลา  1 – 5  สัปดาห์  หากอุณหภูมิสูงกว่านี้ก็ย่นระยะเวลาลง  เมื่อหว่านเมล็ดแล้วควรกลบเมล็ดสักด้วยขี้เถ้าแกลบ  ซึ่งมีสีดำ  ผสมทรายหรือขี้เลื่อย  เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับเมล็ดในขณะที่เมล็ดอยู่ในแปลงเพาะ  ทั้งนี้เป็นการกระตุ้นเมล็ดให้พร้อมที่จะงอกทันที  เมื่อได้รับน้ำฝน

การปลูกและบำรุงสวนสัก

            การปลูกสร้างสวนป่าไม้สักให้ได้ผลดี  นอกจากจะต้องมีความรู้ทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับไม้สักแล้ว  ยังมีปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ ที่ต้องคำนึงถึง  และปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย  ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้

          การคัดเลือกพื้นที่ปลูก

                 การคัดเลือกพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่าไม้สักจัดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคุณสมบัติของพื้นที่ปลูกจะมีผลโดยตรงต่อการรอดตาย  และการเจริญเติบโตของไม้สัก  จากการศึกษาของสมเกียรติ  จันทร์ไพแสง  (2520)  เกี่ยวกับผลผลิตของสวนป่าไม้สักในท้องที่  (site)  ต่าง ๆ  กัน  จะให้ผลผลิตแตกต่างกัน  สวนสักในพื้นที่ที่ค่อนข้างดีจะให้ผลผลิตสูงเกือบสองเท่าของสวนสักที่ปลูกในที่ที่ค่อนข้างเลว  ดังนั้นการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ปลูกสักควรใช้องค์ประกอบดังนี้เป็นเครื่องช่วยตัดสิน
                 1)  ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ควรเกิน  700  เมตร  ระยะที่เหมาะสมควรอยู่ต่ำกว่า
                       ระดับ  400  เมตร  เหนือน้ำทะเล
                       2)  ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เป็นดินลูกรัง  หรือป่าเต็งรัง  เพราะดินจะตื้นมีความเป็นกรด
                      สูง  ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นป่าสักมาก่อน  หรือป่าผสมผลัดใบเป็นหลัก  ป่าดิบแล้งก็ใช้
                      ปลูกสร้างสวนป่าไม้สักได้
                 3)  พื้นที่ที่มีเขาหินปูน  (lime stone)  หรือดินที่มี  parent material เป็นหินปูน
                             หินภูเขาไฟ  (volcanic rock)  หิน  gneiss, schist  และ  diorite  จะเหมาะสม
                             เพราะดินที่กำเนิดจากหินเหล่านี้ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์  มีธาตุแคลเซียม  (Ca) 
                             และฟอสฟอรัส (P)  สูง  ซึ่งเป็นที่ต้องการของไม้สัก  อีกทั้งดินจะมีความเป็นกลาง
                             หรือเป็น กรด-ด่าง  เล็กน้อย  (pH  ระหว่าง  6.5-8.0)  ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบ
                             โตของไม้สัก
                  4)  หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว  หรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี  หรือเป็นที่ลุ่มน้ำขัง
                         เพราะไม้สักจะงัน  ไม่เจริญเติบโต  เนื่องจากระบบรากไม่พัฒนาและอาจตายได้
                         ในที่สุด
                   5)  ปริมาณน้ำฝนควรจะอยู่ระหว่าง  1,000 – 1,300  มม./ปี

            .  การเตรียมพื้นที่ปลูก
                  การเตรียมพื้นที่ปลูกไม้สักก็เช่นเดียวกับการเตรียมปลูกไม้ป่าทั่ว ๆ ไป คือ ทำการตัดฟันหรือไถไม้เล็กไม้น้อยตลอดจนวัชพืชที่มีอยู่ออกให้หมด  แล้วสุมเผา  เก็บริบจนพื้นที่สะอาดโล่งเตียน  หากเป็นการปลูกแบบผืนใหญ่  (clear felling)  จากนั้นก็ทำการปักหลักหมายแนวปลูก  ระยะปลูกก็ใช้ตามความเหมาะสม  เช่น  2 x 2  เมตร  (400 ต้น/ไร่) 2 x 4 เมตร  (200 ต้น/ไร่)
3 x 3  ((178 ต้น/ไร่)  หรือ  4 x 4 เมตร  (100 ต้น/ไร่)  นอกจากนั้นก็อาจจะมีการเตรียมพื้นที่ปลูกที่แตกต่างออกไปอีก 2 วิธีคือ  การถางแล้วปลูกเป็นหย่อม ๆ (patch clearing)  และถางแล้วปลูกเป็นแถบ  (strip clearing)

            .  การปลูก 
               การปลูกไม้สักควรกระทำในฤดูฝน  คือระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม  คำแนะนำสำหรับการปลูกสักคือ  ควรปลูกด้วยเหง้า  หมายถึง  นำกล้าไม้สักที่ได้เพาะไว้ในแปลงเพาะที่มีอายุประมาณ 1 ปี  มาตัดแต่งให้เป็นเหง้าที่มีตาเหลืออยู่ 2 คู่  ความโตที่คอราก  (เหง้า)  ประมาณ 0.8 ซม.ขึ้นไป  ตัดรากฝอยออกให้หมด  ตัดปลายรากแก้วทิ้งเล็กน้อย  โดยความยาวตั้งแต่คอรากถึงปลายรากแก้ว ประมาณ 15 – 25 ซม.
                 การปลูกกระทำโดยใช้ชะแลงเหล็กกระทุ้งดินให้เป็นรูลึกเท่า ๆ ขนาดความยาวของเหง้า  นำเหง้าสักที่เตรียมไว้เสียบลงไปจนเกือบมิด  โดยโผล่ส่วนของคอรากที่มีตาอยู่ 2 คู่เหนือพื้นดิน  แล้วใช้ชะแลงอัดดินด้านข้างรูปลูกให้แน่นประมาณ 3 รู  จนไม่มีช่องว่างระหว่างดินกับเหง้าในรูปลูก  การปลูกโดยวิธีนี้  คนงานที่ชำนาญสามารถปลูกได้ถึง 500 เหง้า/วัน  และเหง้าสักมีอัตราการรอดตายสูงถึง 75 – 90%  การปลูกซ่อมจะกระทำภายใน 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน  หลังจากการปลูกครั้งแรก  ข้อสำคัญคือควรปลูกซ่อมก่อนหมดฤดูฝนพอสมควร  และสมควรคัดขนาดเหง้าที่มีขนาดความโตที่คอรากตั้งแต่ 1 ซม.  ขึ้นไป  และมีความสมบูรณ์  นอกจากนั้นต้องเข้มงวดในขณะปลูกให้มากด้วย
                 การปลูกด้วยเหง้า  เป็นวิธีที่ทำให้ต้นสักมีความเจริญเติบโตดีกว่าปลูกทั้งต้น  หรือปลูกด้วยกล้าถุง  เนื่องจากเหง้าได้เก็บพลังของความเจริญเติบโตเอาไว้  เมื่อผ่านฤดูแล้งที่ผ่านมา  เมื่อได้รับการกระตุ้นจากน้ำและความชื้นตลอดจนภูมิอากาศที่เหมาะสมก็จะปล่อยพลังความเจริญเติบโตออกมาเต็มที่  นอกจากนั้นยังมีข้อดีอื่น ๆ คือ  เป็นการปลูกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมาก  สะดวก  รวดเร็ว  การขนส่งเหง้าสะดวก  ปลูกได้พื้นที่มากในระยะเวลาอันสั้น  แต่จะมีข้อเสียเล็กน้อย  ตรงที่ต้องเสียเวลาตกแต่งเหง้าไปบ้าง  อย่างไรก็ตามจะสะดวกที่สุดหากใช้เหง้าที่เก็บรักษาไว้ก่อนถึงฤดูกาลปลูก  สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการเตรียมเหง้าคือ  ต้องมีความประณีตในการถอน  การตกแต่ง   การขนส่ง   ซึ่งจะต้องทำให้เหง้าบอบช้ำน้อยที่สุด  และอย่าปล่อยให้เหง้าตากแดด
ตากลมนานเกินไป  เมื่อแต่งเหง้าแล้ว  หากไม่สามารถปลูกได้เสร็จภายใน 1 – 2 วัน  ควรคลุมเหง้าด้วยกระสอบชุบน้ำ  เพื่อป้องกันเหง้าสูญเสียความชื้นและแห้งตายไป

            .  การบำรุงรักษาสวนสัก
                 การดูแลสวนสักใหม่ ๆ หลังจากเริ่มปลูกจะมีอยู่ 2 ประการ คือ การดายวัชพืชและการป้องกันไฟ  การกำจัดวัชพืชเพื่อลดการแก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำจากพืชอื่น  และไม้สักเป็นพืชที่ต้องการแสงมาก  จึงต้องช่วยลดการบดบังจากพืชอื่นด้วย  ส่วนการป้องกันไฟในช่วง  3  ปีแรก  จะช่วยให้ไม้สักไม่เกิด  die-back  ซึ่งจะทำให้ต้นที่แตกขึ้นมาใหม่มีหลายลำต้น  หรือแตกง่ามเป็นเหตุให้สูญเสียความเจริญเติบโตไป  สวนป่าไม้สักปีแรก  หากมีการดูแลรักษาดีต้นไม้อาจจะมีความสูงได้ถึง  3 – 4 เมตร  ทีเดียว
                  การดูแลรักษาสวนสักมักจะกระทำกันเป็นเวลา 3 – 5 ปี  จนกว่าต้นสักจะสูงพ้นวัชพืช  ซึ่งมีลำดับขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่ปีที่ 1  ถึงปีที่ 5  ดังนี้
                  1.  ทำทางตรวจการและแนวกันไฟ  ทางตรวจการและแนวกันไฟควรสะอาด  ซึ่งจะช่วยในการป้องกันไฟได้ดี  ควรจะทำทางตรวจการและแนวกันไฟระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม
                   2.  ดายวัชพืชในสวนป่าอายุ 1 ปี  ครั้งที่ 1  ในเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เพื่อเปิดแสงและช่วยต้นไม้ขนาดเล็กให้มีการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ  ครั้งที่ 2 และ 3 เว้นระยะไปครั้งละประมาณ 4 เดือน
                   3.  ดายวัชพืชสวนป่าที่มีอายุ  2 – 5 ปี  ครั้งที่ 1  ในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม  และครั้งต่อไปทุก ๆ  3 – 4 เดือน  หากมีวัชพืชมากควรชิงเผาก่อน
                   4.  เตรียมกล้าไม้และเหง้าสักปลูกซ่อมต้นที่ดาย  ปีแรกควรปลูกซ่อมหลังจากปลูกไปแล้ว 1 เดือน  หากต้องซ่อมในปีต่อ ๆ ไปอีก  (กรณีที่การรอดตายต่ำกว่า 90%)   จะกระทำในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
                   5.  เฝ้ารักษาและทำความสะอาดแนวกันไฟ  ในเดือนกุมภาพันธ์  เมษายน  เพื่อช่วยให้งานป้องกันไฟได้ผลดีที่สุด  หากเป็นสวนป่าที่มีขนาดใหญ่มากควรมีรถดับเพลิงไว้ใช้ปฏิบัติงานด้วย
            การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานปลูกสร้างสวนป่าไม้สักอาจสรุปได้ดังนี้
            1.  เตรียมพื้นที่ปลูก                     ประมาณเดือน    มกราคม – กุมภาพันธ์
            2.  เตรียมหลักหมายปลูก             ประมาณเดือน   กุมภาพันธ์ – มีนาคม
            3.  เผาป่า  เก็บริบ สุมเผา             ประมาณเดือน   มีนาคม - เมษายน
            4.  ปักหลักหมายปลูก                  ประมาณเดือน   เมษายน - พฤษภาคม
            5.  เตรียมเหง้า – เพาะเมล็ด         ประมาณเดือน   เมษายน  พฤษภาคม      
            6.  ปลูก                                     ประมาณเดือน   พฤษภาคม - มิถุนายน
            7.  ดายวัชพืช ครั้งที่ 1                 ประมาณเดือน   มิถุนายน - กรกฎาคม
            8.  ดายวัชพืช  ครั้งที่ 2                ประมาณเดือน   สิงหาคม - กันยายน
            9.  ดายวัชพืช  ครั้งที่ 3                ประมาณเดือน   ธันวาคม - มกราคม
            10. ทำแนวกันไฟและป้องกันไฟ    ประมาณเดือน   มกราคม - เมษายน

 

          .  การตัดสางขยายระยะ

                  ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการตัดสางขยายระยะในสวนป่าไม้สัก  แต่หลักปฏิบัติทั่ว ๆ ไปคือ  การตัดสางขยายระยะจะกระทำเมื่อเรือนยอดใกล้ชิดติดกันมากแล้ว  ต้นไม้เริ่มมีการแก่งแย่งกันสูง  การเจริญเติบโตทั้งด้านความโตและความสูง  เริ่มลดลงเนื่องมาจากการแก่งแย่ง  ซึ่งจะตัดสางขยายระยะเมื่อใด  ยังขึ้นอยู่กับระยะปลูกเริ่มแรกด้วย  หากระยะปลูกเริ่มแรกห่างกันมาก  อาจทอดระยะเวลาการตัดสางขยายระยะออกไปได้  อย่างไรก็ตามคำแนะนำที่จะให้ไว้ในที่นี้คือ  ควรจะวางแปลงถาวรไว้ในสวนป่าสัก 1 – 3 แปลง  โดยให้แปลงเหล่านี้เป็นตัวแทนของสวนป่าทั้งหมด  มีต้นไม้ในแปลงเป็นตัวแทน 25 – 50 ต้น  แล้วแต่ขนาดของสวนป่า  ทำการวัดต้นไม้ในแปลงถาวรทุกปี  แล้วนำมา  plot กราฟ  ทั้งความโตและความสูง  หากกราฟยังเป็นเส้นตรงขึ้นไปก็ยังไม่ต้องตัดสางขยายระยะ   เมื่อกราฟเริ่มตกก็ให้ทำการตัดสางขยายระยะทันที  เพื่อรักษาความเจริญเติบโตไว้
                  ส่วนการตัดสางขยายระยะจะใช้วิธีใดก็แล้วแต่ความเหมาะสม  ซึ่งอาจจะเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งใน 4 วิธี คือ  Mechanical thinning  หรือ  Selection  thinning  หรือ  High thinning  หรือ  Low thinning

การเจริญเติบโตของไม้สักในสวนป่า

          ในการศึกษาหาผลผลิตของสวนป่าไม้สักอายุตั้งแต่ 9 – 63 ปี  ในภาคเหนือของประเทศไทย  สมเกียรติ  (2520)  ได้ศึกษาพบว่า  ปริมาตรไม้สักที่ได้จากสวนป่า  เมื่อครบรอบหมุนเวียน 60 ปี ของแต่ละชั้นคุณภาพหรือ  site index  ซึ่งกำหนดโดยค่าเฉลี่ยความสูงทั้งหมดของไม้ชั้นเด่นและไม้ชั้นรอง  แบ่งเป็น 5 ชั้นคุณภาพ  (site index)  ดังนี้
           
            site  index  14              -  ชั้นคุณภาพต่ำ
            site  index  17              -  ชั้นคุณภาพค่อนข้างต่ำ
            site  index  20              -  ชั้นคุณภาพปานกลาง
            site  index  23              -  ชั้นคุณภาพค่อนข้างดี
            site  index  26              -  ชั้นคุณภาพดี

ซึ่งมีปริมาตรไม้ใต้เปลือกส่วนที่ทำเป็นสินค้าได้ของชั้นคุณภาพ  14, 17, 20, 23 และ 26  เท่ากับ 25.85, 30.16, 33.90, 37.40  และ  41.48  ลูกบาศก์เมตรต่อไร่  ตามลำดับ  ซึ่งค่าผลผลิตสวนป่าไม้สักได้จาก  การหาสมการความสัมพันธ์ของค่าตัวแปรต่าง ๆ ที่สำคัญ  ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาสรุปเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ความสูงและปริมาตรไม้  ในแต่ละช่วงอายุ 5 ปี ตั้งแต่ 10 – 60 ปี  และชั้นคุณภาพ  (site index)  ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 - 5

ตารางที่ 1         ผลผลิตของสวนป่าไม้สักทางภาคเหนือของประเทศไทย  (ชั้นคุณภาพ 14)
 

อายุ      เส้นผ่าศูนย์กลาง                  ความสูงของไม้         จำนวนต้น      พื้นที่หน้าตัดไม้     ปริมาตรที่ทำ

                 เพียงอก            ชั้นเด่นและชั้นรอง                                                        เป็นสินค้าได้

 (ปี)             (ซม.)                         (.)                   (ต้น/ไร่)            (.2/ไร่)               (.3/ไร่)
10               7.23                      9.0                       338                1.47                    3.69
15             10.20                      11.0                                 215                1.83                    7.50
20             12.63                      12.5                     162                2.13                  10.71
25             14.43                      13.3                     136                2.35                  13.12
30             16.18                      14.0                     117                2.56                  15.40
35             17.94                      14.8                     103                2.78                  17.80
40              19.20                     15.0                       94                2.93                  19.51
45              20.32                     15.1                       87                3.07                  21.09
50              21.49                     15.3                       81                3.22                  22.79
55              22.61                     15.4                       76                3.36                  24.38
60              23.78                     15.5                       71                3.50                  25.85
 

ที่มา  :              สมเกียรติ  จันทร์ไพแสง  (2520)

ตารางที่ 2         ผลผลิตของสวนป่าไม้สักทางภาคเหนือของประเทศไทย  (ชั้นคุณภาพ 17)
 

อายุ      เส้นผ่าศูนย์กลาง                  ความสูงของไม้         จำนวนต้น      พื้นที่หน้าตัดไม้     ปริมาตรที่ทำ

                 เพียงอก            ชั้นเด่นและชั้นรอง                                                        เป็นสินค้าได้

 (ปี)             (ซม.)                         (.)                   (ต้น/ไร่)            (.2/ไร่)               (.3/ไร่)
10               9.18                      11.0                     247                1.70                    6.30
15             12.14                      13.0                                 171                2.06                    9.83
20             15.11                      15.0                     129                2.41                  13.63
25             17.11                      16.0                     107                2.66                  16.27
30             19.10                      17.0                       95                2.90                  18.90
35             20.85                      17.8                       84                3.12                  21.30
40              22.13                     18.0                       78                3.27                  23.01
45              23.63                     18.5                       72                3.46                  25.06
50              24.89                     18.8                       67                3.62                  26.88
55              26.16                     19.0                       63                3.77                  28.58
60              27.28                     19.1                       59                3.91                  30.16
 

ที่มา  :              สมเกียรติ  จันทร์ไพแสง  (2520)

ตารางที่ 3         ผลผลิตของสวนป่าไม้สักทางภาคเหนือของประเทศไทย  (ชั้นคุณภาพ 20)
 

อายุ      เส้นผ่าศูนย์กลาง                  ความสูงของไม้         จำนวนต้น      พื้นที่หน้าตัดไม้     ปริมาตรที่ทำ

                 เพียงอก            ชั้นเด่นและชั้นรอง                                                        เป็นสินค้าได้

 (ปี)             (ซม.)                         (.)                   (ต้น/ไร่)            (.2/ไร่)               (.3/ไร่)
10             11.12                      13.0                     192                1.93                    8.36
15             14.58                      15.5                                 135                2.34                  12.75
20             17.55                      17.5                     106                2.70                  16.55
25             19.78                      18.8                       90                2.98                  19.53
30             22.02                      20.0                       78                3.25                  22.40
35             23.77                      20.8                       71                3.47                  24.81
40              25.04                     21.0                       66                3.62                  26.51
45              26.55                     21.5                       63                3.80                  28.56
50              27.81                     21.8                       58                3.97                  30.38
55              29.00                     22.0                       54                4.12                  32.08
60              30.34                     22.3                       52                4.28                  33.90
 

ที่มา  :              สมเกียรติ  จันทร์ไพแสง  (2520)

ตารางที่ 4         ผลผลิตของสวนป่าไม้สักทางภาคเหนือของประเทศไทย  (ชั้นคุณภาพ 23)
 

อายุ      เส้นผ่าศูนย์กลาง                  ความสูงของไม้         จำนวนต้น      พื้นที่หน้าตัดไม้     ปริมาตรที่ทำ

                 เพียงอก            ชั้นเด่นและชั้นรอง                                                        เป็นสินค้าได้

 (ปี)             (ซม.)                         (.)                   (ต้น/ไร่)            (.2/ไร่)               (.3/ไร่)
10             13.07                      15.0                     155                2.16                   10.69
15             16.52                      17.5                                 114                2.57                  15.08
20             19.98                      20.0                       89                2.99                  19.47
25             22.46                      21.5                       76                 3.29                 22.69
30             24.94                      23.0                       67                3.59                  25.90
35             26.69                      23.8                       61                3.81                  28.31
40             28.44                      24.5                       56                4.02                  30.59
45             29.71                      24.8                       53                4.18                  32.41
50             30.98                      25.0                      50                4.34                  34.11
55              32.14                     25.2                       48                4.49                  35.81
60              33.26                     25.3                       46                4.63                  37.40
 

ที่มา  :              สมเกียรติ  จันทร์ไพแสง  (2520)

ตารางที่ 5         ผลผลิตของสวนป่าไม้สักทางภาคเหนือของประเทศไทย  (ชั้นคุณภาพ 26)
 

อายุ      เส้นผ่าศูนย์กลาง                  ความสูงของไม้         จำนวนต้น      พื้นที่หน้าตัดไม้     ปริมาตรที่ทำ

                 เพียงอก            ชั้นเด่นและชั้นรอง                                                        เป็นสินค้าได้

 (ปี)             (ซม.)                         (.)                   (ต้น/ไร่)            (.2/ไร่)               (.3/ไร่)
10                     15.01                      17.0                     130                2.39                  13.03
15             19.44                      20.5                                   92                2.92                  18.58
20             22.90                      23.0                       75                3.33                  22.97
25             25.30                      24.5                       65                3.64                  26.19
30             27.86                      26.0                       58                3.94                  29.40
35             29.85                      27.0                       53                4.18                  32.04
40              31.36                     27.5                       49                4.37                  34.09
45              32.63                     27.8                       47                4.53                  35.41
50              33.89                     28.0                       45                4.68                  37.61
55              35.40                     28.5                       42                4.87                  39.66
60              36.67                     28.8                       40                5.03                  41.48
 

ที่มา  :              สมเกียรติ  จันทร์ไพแสง  (2520)

            จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  เล่ม 15.  อภิชาติ  (2534)  ได้เขียนสรุปเรื่องไม้สัก  เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสวนป่าไม้สักในท้องที่ต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยในแต่ละช่วงอายุ  และสภาพพื้นที่ปลูกต่าง ๆ กันลักษณะ  ดังรายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ 6

ตารางที่ 6         การเจริญเติบโตของไม้สักในสวนป่าเมื่อปลูกในสภาพพื้นที่ต่าง ๆ กัน

อายุ
(ปี)
พื้นที่ไม่ดี
พื้นที่ดีปานกลาง
พื้นที่ดีมาก

เส้นผ่าศูนย์กลาง(เซนติเมตร)
ความสูง
(เมตร)
เส้นผ่าศูนย์กลาง(เซนติเมตร)
ความสูง
(เมตร)
เส้นผ่าศูนย์กลาง(เซนติเมตร)
ความสูง
(เมตร)
10
20
30
40
50
60
6.14
10.95
14.26
16.96
19.35
21.61
4.70
8.30
10.00
11.00
11.60
12.10
9.99
17.73
22.44
25.94
28.87
31.48
9.40
16.60
20.00
22.00
23.30
24.20
13.80
24.48
30.59
34.92
38.39
41.38
14.10
28.80
30.00
33.00
34.90
36.30
ที่มา  :  อภิชาติ  ขาวสอาด  (2534)

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

            ในการหาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักนั้น  ได้มีการศึกษาในพื้นที่ที่ต้นสักเจริญเติบโตดี  โดยกำหนดรอบตัดฟันไว้  15  ปี  อัตราความเพิ่มพูน 7  เซนติเมตรต่อปี  กำหนดให้มีการตัดไม้บำรุงป่าในปีที่ 6 และทำการตัดสางขยายระยะในปีที่ 11  ได้ปริมาตรไม้ 3 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่  โดยจำนวนต้นไม้ที่ปลูกระยะ 2 x 4 เมตร  มีจำนวน 200 ต้นต่อไร่  (อายุ 1 – 5 ปี  มีต้นไม้ 180 ต้นต่อไร่ อายุ 6 – 10 ปี  มีต้นไม้ 90 ต้นต่อไร่  อายุ 11 – 15 ปี  มีต้นไม้ 45 ต้นต่อไร่)  และผลผลิตเมื่อไม้มีอายุครบรอบตัดฟันจะมีปริมาตรไม่ต่ำกว่า 12 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่อไร่และรายละเอียดการดำเนินงานดังแสดงใน  ตารางที่ 7  (ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้)
            จะเห็นได้ว่า  ต้นทุนการผลิตหรือค่าใช้จ่ายในการปลูกบำรุงไม้สักนั้น  รวมเป็นเงินทั้งสิ้นไร่ละ 7,200 บาท  (ปี พ.. 2531) และถ้าคิดอัตราส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 15%  ต่อปี  ซึ่งเวลา 15 ปี จะต้องเสียดอกเบี้ยรวม  22,000บาทต่อไร่  ดังนั้นเมื่อรวมต้นทุนดังกล่าวข้างต้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อไร่  เมื่อครบ 15 ปี รวมทั้งสิ้น 29,200 บาทต่อไร่
            รายได้จากการขายไม้ในสวนป่าไม้สัก  เมื่อมีอายุครบรอบตัดฟัน  15  ปี  มีดังต่อไปนี้
            1.  ปริมาตรไม้จากการตัดสางขยายระยะเมื่ออายุ  11  ปี  จะได้ไม้ที่มีเส้นรอบวงกลางท่อนประมาณ  50  - 60  เซนติเมตร  และมีปริมาตรไม้  3  ลูกบาศก์เมตรต่อไร่  โดยที่ราคาไม้ประมาณว่า 6,200  บาทต่อลูกบาศก์เมตร  (ข้อมูลราคาไม้ซุงสักได้มาจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  (...)  ช่วงระยะเวลาเดือนสิงหาคม  2534  ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้)  จะมีรายได้จากการขายไม้ ประมาณ 18,600  บาทต่อไร่
            2.  ปริมาตรไม้จากการตัดไม้  เมื่ออายุครบรอบตัดฟัน  15  ปี  จะได้ไม้ที่มีเส้นรอบวงกลางท่อนประมาณ  80 – 90 เซนติเมตร  และมีปริมาตรไม้ประมาณ 12 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่  โดยที่ราคาไม้ประมาณไว้ว่า  8,200  บาทต่อลูกบาศก์เมตร  จะมีรายได้จากการขายไม้ประมาณ  98,400  บาทต่อไร่
            ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจจากการขายไม้สัก  รวมทั้งสิ้น  117,000  บาท  ต่อในระยะเวลา 15 ปี  ดังนั้นกำไรที่จะได้จากการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักตามโครงการนี้  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  117,000 – 29,200  =  87,000  บาท  ต่อไร่ ต่อ 15 ปี
            โดยเฉลี่ยแล้ว  เกษตรกรจะมีรายได้หรือผลตอบแทนประมาณ  5,900  บาทต่อไร่ต่อปี  ซึ่งยังไม่รวมถึงรายได้  จากการขายพืชผลทางการเกษตรที่สามารถปลูกร่วมกับไม้สักด้วย

ตารางที่ 7         รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนป่า

ปีที่
ค่าใช้จ่ายต่อไร่
รายละเอียดการดำเนินงาน
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15

1,900  บาท 250 บาท
250    บาท
250    บาท
250    บาท
250    บาท
250    บาท
250  บาท
250    บาท
250    บาท
370  บาท
370  บาท
370  บาท
370  บาท
370  บาท
ค่าอำนวยการ  = 1,200  บาท



ปีที่ 1

-  ถางป่า,  เก็บริบ                                                ไร่ละ             300  บาท
ค่ากล้าไม้ 5 บาท/เหง้า                                                       1,100  บาท
ปลูกปลูกซ่อม (200 ต้น/ไร่)                                                  200  บาท
หลัก,  ปักหลัก                                                                        64  บาท
ถางวัชพืช 3 ครั้ง                                                                   150  บาท
ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ๆ ละ 20 กรัม/ต้น                                                 60  บาท
ทำทางตรวจการป้องกันไฟอื่น ๆ                                           26  บาท
                                                                        รวม              1,900  บาท

ปีที่ 2 – 5  (180 ต้น/ไร่)
ปลูกซ่อม                                                       ไร่ละ                    30  บาท
ถางวัชพืช  3  ครั้ง                                                                  150  บาท
ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ๆ ละ 20 กรัม/ต้น                                                  60  บาท
ป้องกันไฟ  และอื่น ๆ                                                               10  บาท
                                                                       รวม                   250  บาท

ปีที่ 6 – 10 (90 ต้น/ไร่)    
ถางวัชพืช 2 ครั้งพร้อมตัดไม้บำรุงป่า                ไร่ละ                 120  บาท
ใส่ปุ๋ยครั้ง ๆ ละ 200 กรัม/ต้น                                               120  บาท
ป้องกันไฟ  อื่น ๆ                                                                      10  บาท
                                                                         รวม                250   บาท

ปีที่ 11 – 15   (45 ต้น/ไร่)
ทำความสะอาดสวน 1 ครั้ง                              ไร่ละ                   60  บาท
ใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ../ต้น                                                  300  บาท
ป้องกันไฟ อื่น ๆ                                                                       10  บาท
                                                                         รวม                 370  บาท
รวม 
7,200  บาท

ที่มา  :  วารสารสักทอง     มกราคม – มีนาคม  2531

ตารางที่ 8         รายละเอียดค่าใช้จ่ายการปลูกป่าต่อไร่  (ของกรมป่าไม้)

                                                                                               

ลำดับที่
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หน่วยนับ
ปริมาณ
(ต่อไร่)
ราคาต่อหน่วย
(บาท)
เป็นเงิน
(บาท)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
การสำรวจและรังวัดแนวเขต
การถาง
การเก็บ ริบ สุม เผา
การทำทางตรวจการ
การทำแนวกันไฟ
การทำหลักและปักหมายแนว
การปลูกและขนกล้า
การดายวัชพืช
การปลูกซ่อมและนับอัตราการรอดตาย
แรง
แรง
แรง
แรง
แรง
แรง
แรง
แรง
แรง
0.20
4.36
3.81
0.38
1.00
1.87
3.24
3.75
0.69
100.00
100.00
100.00
100.00
100.00
100.00
100.00
100.00
100.00
20.00
436.00
381.00
38.00
100.00
187.00
324.00
375.00
69.00

รวมค่าแรงงานต่อไร่
แรง
19.30
100.00
1,930.00
10
11
12
ค่ากล้าไม้
ค่าวัสดุ
ค่าใช้สอย
กล้า
257.00
1.80
462.60
136.00
58.00

รวมค่าใช้จ่ายต่อไร่
บาท


2,586.60

ปรับ



2,500.00

ที่มา  :  หนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0706.06/1313  ลงวันที่ 14  กันยายน 2538
            คิดค่าแรงคนงาน  100 บาท / คน / วัน

ตารางที่ 9         รายละเอียดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาสวนเดิม  (อายุ 2 – 6 ปี)

                                                            กรมป่าไม้

ลำดับที่
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หน่วยนับ
ปริมาณ
(ต่อไร่)
ราคาต่อหน่วย
(บาท)
เป็นเงิน
(บาท)
1
2
3
4
การซ่อมทางตรวจการ
การดายวัชพืช
การปลูกซ่อม
ยามป้องกันไฟ
แรง
แรง
แรง
แรง
0.18
5.51
0.42
0.01
100.00
100.00
100.00
100.00
18.00
551.25
42.00
1.00

รวมค่าแรงงานต่อไร่
แรง
6.12
100.00
612.25
5
6
7
ค่ากล้าไม้
ค่าวัสดุ
ค่าใช้สอย
กล้า
25.88
1.80
46.58
12.60
13.14

รวมค่าใช้จ่ายต่อไร่
บาท


684.57

ปรับ



680.00

ที่มา  :  หนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0706.06/1313  ลงวันที่ 14  กันยายน 2538
            คิดค่าแรงคนงาน  100 บาท / คน / วัน

ตารางที่ 10       รายละเอียดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาสวนเดิม  (อายุ 7 – 10 ปี)

                                                            กรมป่าไม้

ลำดับที่
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หน่วยนับ
ปริมาณ
(ต่อไร่)
ราคาต่อหน่วย
(บาท)
เป็นเงิน
(บาท)
1
2
3
4
การซ่อมทางตรวจการ
การดายวัชพืช
การป้องกันไฟ
การริดกิ่ง
แรง
แรง
แรง
แรง
0.18
2.00
0.10
1.00
100.00
100.00
100.00
100.00
18.00
200.00
10.00
100.00

รวมค่าแรงงานต่อไร่
แรง
3.28
100.00
328.00
5
ค่าวัสดุ  ใช้สอย


4.20
4.20

รวมค่าใช้จ่ายต่อไร่
บาท


332.20

ปรับ



330.00

เอกสารอ้างอิง

มณฑี  โพธิ์ทัย,  2527.  การปลูกสร้างสวนป่า  ส่วนปลูกสร้างสวนป่า  ฝ่ายทำไม้ภาคตะวันตก

            และใต้  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

วิเชียร  สุมันตกุล, 2520.  การทดลองเก็บรักษาเมล็ดสัก  ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้สัก  .งาว  .ลำปาง
วิเชียร  สุมันตกุล, 2522การทดลองเพาะเมล็ดสักต่างขนาด  ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้สัก  .งาว
            .ลำปาง          
วิเชียร  สุมันตกุล, 2522.  :  การปฏิบัติต่อเมล็ดสักก่อนเพาะ  ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้สัก  .งาว
            .ลำปาง
สมเกียรติ  จันทร์ไพแสง, 2520.  ผลผลิตของสวนป่าไม้สัก  วิทยานิพนธ์ปริญญาโท 
            คณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อภิชาติ  ขาวสอาด,  2534.  ไม้สัก  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  เล่ม 15.  บริษัทด่านสุทราการ
            พิมพ์จำกัด  กรุงเทพฯ

อภิชาติ  ขาวสอาด  สมเกียรติ  จันทร์ไพแสง  วีระพงษ์  สวงโท  ทวี  ไชยเรืองศิริกุล และประสิทธิ์ 

            เพียรอนุรักษ์, 2536.  ไม้สัก  ใน  เอกสารส่งเสริมการปลูกไม้ป่า  ฝ่ายวนวัฒนวิจัย 
            กองบำรุง  กรมป่าไม้
Bhatia, K.K. 1954. Factors in the Distribution of Teak (Tectona grandis L.f.) and a Study
            on Teak Forests of Madhya Pradesh. Ph.D. Thesis. Sauger UniversityIndia.

Bryndum, K. and T. Hedegart, 1969. Pollination of Teak (Tectona grandis L.)  Silvae

            Genetica 18, Heft 3, 57-96.

Hedegart, T. 1974. Compendium. Teak Improvement Centre, Ngao, Lampang.
Kanchanaburangura, C. 1976. Teak (Tectona grandis L.f.) Seedling and Provenances
            Variation. M.Sc. Thesis. ANU, CanberraAustralia.
Kaosa-ard, A. 1977. Physiological Studies on Sprouting of Teak (Tectona grandis L.f.)
            Planting Stumps. Ph.D Thesis. ANU, CanberraAustralia.
Kaosa-ard, A. 1981.  Teak Seed Centre : Annual Report No.2. Teak Seed Centre, Ngao,
            Lampang.
Kermode, C.W.D. 1964. Teak in Tropical Silviculture Vol.2 : 168 – 192. FAO, Rome.
Koko  Gyi. 1972. An Investigation of Factors Relevant to Development of Teak Plantation
            in South-east Asia with Particular Reference to Burma. M.Sc. Thesis. ANU,
            CanberraAustralia.
Kulkani, D.H. 1951. Distribution of Teak (Tectona grandis L.f.) on the Northern Slopes of
            the Satpuras, with Special Relation to Geology. Proc. 8th Silv. Conf. : 254 – 263. 
            Dehra DunIndia.
Mahaphol. S. 1954. Teak in Thailand. Paper No. R.16. Royal Forest Department, Ministry
of Agriculture.
Murthy, K.A.V.R.G. 1973.  Problems of Teak Seeds 2. Germination Studies in Seed
            Processing. Proc. Of IUFRO Working Group on Seed Problems. BergenNorway.
Vol.2 ; Paper 21.
Nwoboshi, L. 1972. Responses of Teak (Tectona grandis )  idigbo (Terminalia ivorensis) 
            and opepa (Nauclea diderrichii)  Seedlings to Various Light Intensities. Nigerian
J.For. 2 : 48 –53.
Puri, G.S. 1951.  Advance in the Ecology of Teak (Tectona grandis L.f.).  Proc. 8th Silv.
            Conf. : 242 – 249.  Dehra DunIndia.
Puri G.S. 1960.  Indian Forest Ecology Vol.2.  India.  Oxford Book.
Seth, S.K. and J.S.P. Yadav.  1959.  Teak Soils.  Indian Forester 85 : 2 – 16.
Suangtho, V. 1980  Factors Controlling Teak (Tectona grandis L.f.)  Seed Germination
            and Their Importance to Thailand.  M.Sc. Thesis. Anu, CanberraAustralia.

 

ส่วนวนวนัฒนวิจัย  สำนักวิชาการป่าไม้  กรมป่าไม้

เอกสารประกอบการบรรยายในการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ  ดังนี้
1.      หลักสูตร นักส่งเสริมการป่าไม้รุ่นที่ 1  ณ ศูนย์ฝึกอบรมการป่าไม้ชะอำ จ.เพชรบุรี
      13 สิงหาคม  14 กันยายน 2544
2.      หลักสูตร นักส่งเสริมการป่าไม้รุ่นที่ 2  ณ ศูนย์ฝึกอบรมการป่าไม้ตาก  จ.ตาก
 31  มีนาคม  2545